พลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ (9 มกราคม พ.ศ. 2435 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2489-2490
พลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ มีนามเดิมว่า ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2435 ปีมะโรง จ.ศ.1254 ณ บ้านตลาดขวาง ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดตราดเป็นบุตรคนที่ 7 ของ ขุนนราพานิช ( บ๊วย ) และ นางหยาม ดุละลัมพะ ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 12 คน ดังนี้
เมื่อเยาว์วัย ได้เข้าศึกษาที่วัดไผ่ล้อม (จังหวัดตราด) ในสำนักของพระวิมลเมธาจารย์ วรญาณคณานุรักษ์ (เจ้ง จนฺทสโร) เจ้าคณะจังหวัดตราด (ปัจจุบันคือโรงเรียนตราษตระการคุณ) จนสอบไล่ได้ประกาศนียบัตร ประถมชั้น 3 เมื่ออายุได้ 11 ปี ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2446 รัฐบาลไทยได้ยกจังหวัดตราดให้กับฝรั่งเศส โดยได้แลกกับจังหวัดจันทบุรีที่ยึดไว้เป็นประกันนั้น จึงได้อพยพติดตามมารดากับพี่น้องมาอยู่ที่จันทบุรีชั่วระยะหนึ่ง แล้วย้ายเข้าสู่กรุงเทพฯ โดยมาเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนปทุมคงคา แล้วลาออก ต่อมามารดาพาเข้าไปฝากตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ซึ่งขณะนั้นยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณวราภรณ์
เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรก เป็นเสมียนโรงกลึง ในกรมทาง กระทรวงคมนาคม เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 แล้วจึงโอนมารับราชการในกระทรวงนครบาล เมื่อ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2455 ได้ศึกษาวิชาการตำรวจ สำเร็จการศึกษาในปีถัดมา
ได้รับตำแหน่งสูงสุดในราชการคืออธิบดีกรมตำรวจ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ในสมัยรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และได้ลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ .2490 โดยไม่กลับเข้ารับราชการอีกเลย แม้ภายหลังจะมีผู้มาขอร้องให้ไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย แต่ท่านก็ไม่รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่ได้คือ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2
เมื่อลาออกจากราชการแล้ว ในปี พ.ศ. 2490 ได้อุปสมบท ณ วัดเบญจมบพิตร โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "วิจารโณ" และภายหลังเมื่อลาสิกขาแล้ว ก็ได้ใช้ชีวิตไปกับการอุทิศตนให้กับศาสนา ด้วยการถือศีล ฟังธรรมเทศนา ในวันธรรมสวนะตามวัดต่าง ๆ เช่น วัดบุปผาราม วัดราชาธิวาศ วัดมหาธาตุ และสุดท้ายคือวัดราชผาติการาม โดยมีความเคารพนับถือ และเป็นที่คุ้นเคยของพระเถระผู้ใหญ่หลายรูป อาทิ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) วัดราชผาติการาม พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฎกษัตริยาราม พระธรรมวราลังการ (กล่อม อนุภาโส) วัดบุปผาราม เป็นต้น ได้บวชกุลบุตรให้อุปสมบทในวัดต่าง ๆ รวมถึง 44 รูป
เมื่อคุณนายกิมบ๊วย ถึงแก่กรรมแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 จึงได้สมรสอีกครั้ง กับ คุณผาด สินธุสาร ภายหลังคือ นางพิจารณ์พลกิจ (ผาด ดุละลัมพะ) โดยมีเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ พระสนมเอกในรัชกาลที่ 5 เป็นเจ้าภาพสมรสให้ ณ วังสวนสุพรรณ สามเสน กรุงเทพฯ และได้ร่วมทุกข์สุขกันจนสิ้นชีวิต แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน แต่ได้อนุเคราะห์หลานมาเป็นบุตรบุญธรรม 4 คน คือ
พลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ ป่วยด้วยโรคปอด และเบาหวาน มาตั้งแต่รับราชการ ได้พยายามเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชียวชาญหลายท่าน เช่น ศ.นพ.ประเสริฐ กังสดาลย์ และ พ.ต.หลวงนิตย์เวชช์วิศิษฐ์ ฯลฯ แต่ก็ทรุดลงเรื่อยมา จนถึงแก่กรรม ณ บ้านพึ่งประยูร เลขที่ 950 ถนนนครไชยศรี ดุสิต กรุงเทพ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 รวมอายุ 67 ปี 10 เดือน 8 วัน
หลวงรัถยาภิบาลบัญชา (เอส.เย.เอมส์) • พระยาอรรคราชวราทร (ภัสดา บุรณศิริ) • เอ.เย.ยาดิน • อีริกเซ็นต์ เย ลอสัน • พระยาวาสุเทพ (กุสตาฟ เชา)
ประชา พรหมนอก • พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ • สันต์ ศรุตานนท์ • โกวิท วัฒนะ • เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส • พัชรวาท วงษ์สุวรรณ • วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี • เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ • อดุลย์ แสงสิงแก้ว • สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง • จักรทิพย์ ชัยจินดา
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/พระพิจารณ์พลกิจ_(ยู่เซ็ก_ดุละลัมพะ)